หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2559

หินเขี้ยวหนุมาน

แก้วโป่งข่าม ก็คือ หินเขี้ยวหนุมาน (Quartz) ชนิดหนึ่งที่อยู่ใต้ผิวดิน ซ่งมักจะมีหินอัคนี และยังหมายรวมเอาการพบแก้วหินทรายในหินชั้น อันได้แก่แร่ Chalcedony ที่มีสีต่างๆ แต่จะมีเนื้อขุ่นไม่ใสตามธรรมดา  รวมทั้งแร่ feldspar อีกด้วย

หินบริเวณ อ.เถิน จ.ลำปาง ที่พบแก้วโป่งข่ามนั้น ชาวบ้านจะเรียกหินเหล่านี้ว่า "หินแก้ว" มาตั้งแต่โบราณ แต่ก็มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งว่า คนเหนือจะเรียกแก้วสีแดงว่า "พลอยแดง"  เช่นตอนที่พบแก้วสีแดงในกรุเจดีย์ใน อ.ฮอด สมัยที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพท่านเสด็จมาล่องแก่ง ก็เรียกว่า "พลอยแดง" เช่นกัน

หินแก้วใน อ.เถิน มีหลายสีมากมาย และที่มีแปลกตากว่าที่อื่นคือ แก้วหินสีม่วง พบที่ อ.แม่วะ ซึ่งมีเนื้อแกร่งมาก และมักไม่พบหินแก้วสีนี้ในบ่อโป่งข่ามทั่วไป และที่แปลกไปกว่านั้นคือ เขตที่พบหินแก้วดป่งข่ามนี้มักมีสายแร่ทองคำเข้าปะปนอยู่ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญทางธรณีวิทยาให้ความเห็นว่ามีทางเป็นไปได้ เพราะบริเวณที่พบหิน quartz ที่เรียกว่าโป่งข่ามนั้นเป็นเขตที่หินมีอุณหภูมิต้ำในการหลอมเหลว เมื่อเทียบจากแหล่งหินอื่นๆ จึงอาจจะมีแร่ทองคำเข้ามาปะปนในการก่อตัวของหินได้

ส่วนความแปลกแกเรื่องคือ หินมีลักษณะพิเศษ คือสามารถงอก เจริญเติมโตได้ หากนำมาเลี้ยงด้วยน้ำสะอาด โดยจะงอกเป็นลิ่มแทงออกข้างๆ และเวลาหินชนิดนี้หัก หรือบิ่นจะมีขุยขาวๆ เกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า เป็นช่วงที่หินกำลังรักษาตัว

เรื่องนี้เป้นที่สนใจของผู้แสวงหาของแปลกประหลาดอยู่พักหนึ่ง และเท่าที่ค้นคว้าก็พบว่าทางสหรัฐอเมริกาก็มีสถาบันเอกชนมากมายที่ลงทุนศึกษาควาแปลกประหลาดมหัศจรรย์ของหิน quartz ที่เรียกว่า crystal อย่างแพร่หลาย โดยพยายามนำประโยชน์จากหินที่เชื่อว่ามีพลังงานลึกลับมาใช้งานในด้านต่างๆ ทั้งด้านการบำบัดโรคบางประเภท การทำเครื่องประดับในลักษณะเครื่องรางนำโชค จนมีการนำเรื่องราวเหล่านี้ไปเผยแพร่เป็นหนังสือ

แต่เรื่องราวเหล่านี้ คนไทยรู้จักมานานนับศตวรรษแล้วแต่ยังไม่แพร่หลายเท่านั้นเอง ซึ่งหินแก้ว หรือโป่งข่ามที่มีลักษณะงอก หรือเจริญเติบโตได้นั้น ชาวล้านนา เรียกหินแก้วเหล่านี้ว่า "ปวก" และถือเป็นเครื่องรางชนิดหนึ่งด้วย



สำหรับหินแก้วบางชนิดจะมีเม็ดภายในเหมือนลายในก้อนน้ำแข็งละลายเหมือนฝ้า มีชื่อเรียกว่า "หมอกมุงเมือง"ใช้เป็นเครื่องรางที่บอกนิมิตรในการเสี่ยงทาย หรือบางคนนำมาเพ่งเพื่อฝึกสมาธิ



หินแก้วโป่งข่าม จะมีลักษณะก่อตัวเป็นผลึกเล็ก มีความแวววาว เหมาะอย่างยิ่งในการทำเครื่องประดับ  เนื่องจากโครงสร้างรูปผลึกของโป่งข่ามเป็นไปตามธรรมชาติ จึงมีลักษณะที่ไม่เฉะพาะเจาะจง บางอันมีความแปลกประหลาดแตกต่างออกไป เช่น งอกทับโป่งข่ามอันอื่น คือมีโป่ง่ามซ้อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งถูกเรียกว่า "แก้วเข้าแก้ว"



คุณลักษณะของการเกิดลิมของแก้วจะเป็นที่มาของลวดลายต่างๆ ในเนื้อของโป่งข่าม ซึ่งพอจะสามารถจำแนกตามการพิจารณาแก้วโป่งข่ามได้ดังนี้

โดยธรรมชาติของผลึก quartz หรือหินเขี้ยวหนุมาน ที่มีลักษณะการก่อตัวเป็นผลึกที่มีลักษณะสมบูรณ์ทั้งหัวท้าย เราเรียกว่า "แก้วโตน" "โตน" คือ "โทน" แปลว่าเดี่ยว หรือหนึ่งนั่นเอง แก้วโตนเป้นแก้วที่หายาก และมีน้อย ซึ่งแก้วโตนบางลิ่มอาจจะแตกหน่อจิ๋วๆ งอกออกจากตัวเอง บางทีก็มีลวดลายอันเกิดจากแร่ธาตุบางชนิดที่ปะปนอยู่ในเนื้อแก้วด้วย ลิ่มแก้วแต่ละลิ่มเรียกว่า "หน่อ" และหน่อใดไม่มีเหง้า จะเรียกว่า "หน่อโตน"

หน่อแก้วที่มีความสมบูรณ์มักจะอยู่รวมเป็นกลุ่มเรียกว่า "เหง้าแก้ว" หรือ "เรือนแก้ว" และจะเรียกหน่อแก้วในเหง้าเดียวกันว่า "หน่อแม่" ส่วนหน่อเล็กๆที่งอกแซมกันเป็นหมู่เรียกว่า "บริวาร"



คุณภาพของเนื้อแก้วในหน่อแม่จะดีกว่าหน่อบริวาร ทั้งนี้เพราะการก่อตัวเนิ่นนานกว่า จึงมาความใส และแข็ง  กว่า

ในหน่อแก้วหนึ่งๆจะแบ่งออกได้เป็น 3 วรรณะ คือ

1. ส่วนบนสุด น้ำจะดีที่สุด กล่าวคือ มีความใสมาก

2. ส่วนกลาง จะมีความเด่น กล่าวคือ จะมีลวดลายในเนื้อแก้ว เรียกว่ามีน้ำแก้วปานกลาง

3. ส่วนโคนสุด จะมีความขุ่น ในลักษณะที่เรียกว่า "แก้วน้ำขุ่น"



การกำหนดลักษณะลวดลายจากธรรมชาติของแก้วโป่งข่าม ที่นอกจากน้ำแก้วนั้นลายในแก้วก็เป็นตัวกำหนดคุณค่า และราคาของแก้วเม็ดนั้นๆเช่นกัน

เนื่องจากแก้วโป่งข่ามเองเป็นผลึก quartz ที่มีแสงแวววาว ประเภทที่เรียกว่า Vitreous Luster แก้วจึงได้มีการตั้งชื่อ และพรรณนาควาระยิบระยับแพรวพราวของน้ำแก้วที่ชาวล้านนาโบราณได้กำหนดในการเยกขานไว้อย่างน่าฟัง ซึ่งสามารถพรรณนาถึงคุณลักษณะแก้วโป่งข่ามได้ดี คือ

วาวแก้ว ที่มีประกายระยิบระยับ เรียกความระยิบระยับเป็นภาษาถิ่นว่า "มาบเม็บ"

วาวแก้วที่ให้แสงแพรวพราย เรียกตามภาษาถิ่นว่า "มิงๆมองๆ"

แก้วโป่งข่าม คือแก้วที่ก่อกำเนิดมาจากผลึกแร่ quartz หรือหินเขี้ยวหนุมาน ซึ่งจะมีแววประเภท Vitreous Luster หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วาวแก้ว"มีการสะท้อนแสงแบบแก้วประกายรุ้งค่ะ

ซึ่งจากลักษณะน้ำในแก้วทั้งสองประการนี่เองที่ใช้เป็นพื้นฐานสำคัญในการตั้งชื่อลวดลายต่างๆในเนื้อแก้วโป่งข่าม



คำว่าแก้วโป่งข่ามนั้น หมายความเอาจากหินแก้วจากบริเวณต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของดอยโป่งหลวงในเขตตำบลแม่ถอด อำเถอเถิน จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความเชื่อต่างๆ และยังมีความเป็นมาตั้งแต่โบราณกาล


หินแก้วต่างๆที่พบในเขตดอยโป่งหลวงเป็นพวกใสขาว และสีฟ้าหม่น ตามดอยโป่งแพ่งพบพวกปวกต่างๆ และแบบเส้นโลหะต่างๆ แต่เป็นเส้นเล็กๆไม่เกินเส้นผม  ที่ดอยผาแดง มีแก้วใสที่แกร่ง และมีพวกเส้นโลหะต่างๆอยู่ภายในดอยๆอื่นๆ ส่วนมากจะมีแก้วสีต่างๆอีกมากมาย

วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

แก้วโป่งข่ามชนิดต่างๆ




ความเชื่อเรื่องอัญมณีเครื่องประดับของล้านนา

แก้ว หรือมณี เป็นสิ่งมีค่าและเครื่องประดับที่สำคัญ โดยถือว่าเป็นสมบัติอย่างหนึ่งของจักรพรรดิราช ที่ประกอบด้วยแก้ว 7 ดวงคือ กงจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณีโชติ นางแก้ว เศรษฐีแก้ว และเสนาแก้ว สำหรับแก้วมณีโชติ หรือมณีรัตน์นั้นมีคุณ วิเศษและพลานุภาพในการขจัดความมืด สามารถส่องแสงสว่างได้ในที่มีฝุ่นธุลีไกล 1 โยชน์ รวมทั้งสามารถส่องประกายลงไปในน้ำ หรือที่มีโคลนตมได้

สำหรับอัญมณีของล้านนานั้น แยกย่อยออกเป็น 24 ดวง หากผู้ใดนำมาเป็นเครื่องประดับ ทำแหวน หรือเก็บไว้ในถุงใส่เงินทอง จะทำให้เกิดความสุขเจริญมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติข้าวของประกอบไปด้วยโชคลาภ


แก้ววิเศษ 24 ชนิด เรียงตามลำดับ ดังนี้
          1. แก้วมหานิลไชยโชค
          2. แก้ววิฑูรย์ (ไพฑูรย์)
          3. แก้วนิลผักตบ
          4. วิฑูรย์ฝนเสน่หา
          5. บัวระกต (มรกต)
          6. สุริยประภา
          7. แก้วประภาชมชื่น
          8. วชิระเป๊กพรหมสามหน้า (เพชร)
          9. วิฑูรย์ขันธะ
         10. แก้วปทัมราค (ปัทมราค , ปัทมราช)
         11. จันทะแพงค่าหมื่น
         12. แก้วสุริยะ
         13. มหานิลทรายคำ
         14. แก้วพระญาอินสวร (แก้วพระอิศวร)
         15. วิฑูรย์ขนบ้งเทศไหมสน
         16. ก๊อแดงผจญปราบแพ้ศัตรู (ทับทิม)
         17. แก้วสีปะสีใสสะอาด
         18. ปทัมก่าน
         19. วิฑูรย์เทศ
         20. วิฑูรย์ผิวเผือก
         21. แก้วหมอกมุงเมือง
         22. เนระกันตี (มรกต)
         23. มธุกันตี (มรกต)
         24. อินทนิลแก้วเผือก

       แก้วมหานิล


นิล แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ มหานิล กับนิลน้อย เป็นแก้วสีดำมีหลายชนิด เช่น ดำเหมือนไข่กา ดำเหมือนสีดอกลำโพง และสีเหมือนดอกผักตบ เป็นต้น ซึ่งตามตำรากล่าวไว้ 12 อย่าง ดังนี้
           1. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายลูกหมากซัก คือลูกประคำดีควาย มีค่าได้หนึ่งพัน ทองคำ
           2. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายประกายทรายอยู่ในแก้วชื่อมหานิลทรายคำ
           3. มหานิลลูกใดมีลักษณะแดงพันเกี่ยวเกี้ยวขึ้นชื่อโปก๋า
           4. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายกับกากงา และเหมือนไข่กา ชื่อมหานิลไข่กา ควรค่าได้แสนทองคำ
           5. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายไข่ด้าน มีรัศมีเหลืองส่องเข้าไปในแก้วนั้น ชื่อมหานิลเผือก ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
           6. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะอย่างปีกกาลาบ มีรัศมีส่องเข้าไปในแก้ว ชื่อมหานิลนกกาลาบ คือนกพิราบที่มีลำตัวสีเทาปนฟ้า ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
           7. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแก่นพริกสุกและเลือดไก่ ชื่อมหานิลเลือดไก่ ควรค่าได้สี่พันเงิน
           8. มหานิลลูกใดมีสีคล้ายลูกหมากซัก คือประคำดีควาย ชื่อมหานิลน้ำตั๊บ ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
           9. มหานิลลูกใดมีลักษณะเขียวดั่งดอกอัญชัน ควรค่าหนึ่งพันทองคำ
         10. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกผักตบ ควรค่าหนึ่งพันเงิน
         11. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแววคอนกยูง ชื่ออินทนิล ควรค่าหนึ่งแสนทองคำ

         12. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดำภายใน คล้ายปทัมราค คือปัทมราคเข้าผสมเหมือนดอกไม้เพลิงและผางประทีป ชื่อมหานิลปทัมราคหาค่ามิได้ ถ้ามีไว้ยังบ้านเรือนของผู้ใด หรือทำเป็นแหวนจะเป็นเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง ช้าง ม้า วัว ควาย ข้าคนมากนักแล


แก้ววิฑูรย์ แก้ววิตูล (ไพฑูรย์)
แก้ววิฑูรย์  แก้ววิตูลหรือไพฑูรย์ เป็นรัตนชาติสีเขียว หรือเหลืองแกมเขียว และสีน้ำตาลเทา มีสังวาลตรงกลาง คือน้ำเป็นสายรุ้งกลอก ไปมา เรียกว่าเพชรตาแมว หรือแก้วสีไม้ไผ่ ตามตำรากล่าวไว้ 15 อย่าง ดังนี้
          1. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ชื่อวิฑูรย์น้ำหาย ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
          2. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายหยดน้ำฝนย้อยชายคา ชื่อวิฑูรย์น้ำค้าง ควรค่าหนึ่งพันเงิน
          3. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำเผิ้ง (น้ำผึ้ง) ชื่อวิฑูรย์น้ำเผิ้ง ควรค่าแสนทองคำ
          4. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะใสยาวคล้ายดาวประกายพฤกษ์ ชื่อวิฑูรย์ประกาย ควรค่าแสนทองคำ
          5. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำตาล ชื่อวิฑูรย์น้ำตาล ค่าสี่พันทองคำ
          6. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกทาระบุด (ไม่ทราบความหมาย) ควรค่าหนึ่งพัน ทองคำ
          7. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายหมากเป้งป่า ควรค่าได้หนึ่งพันทองคำ
          8. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกพุทธวงษ์ ควรค่าได้ห้าพันเงิน
          9. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกคำมีขนซอนขึ้น ชื่อวิฑูรย์ฝนแสนห่า ควรค่าสี่พันเงิน
        10. แก้ววิฑูรย์ขนทราย คือไพฑูรย์ที่มีสีคล้ายขนเนื้อทรายควรค่าห้าพันเงิน
        11. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะเขียวก็ดี เหลืองก็ดีขึ้นสนกันอยู่ภายในแก้ว ชื่อว่า วิฑูรย์ขน บ้ง (ขนบุ้ง)
        12. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะดั่งได้ปอกใน มีลักษณะคล้ายแก้วประภาชมชื่น มีเงาป้านกลางดั่งเมฆขึ้นในอากาศ มีลักษณะดั่งไข่นกจัน ( คือนกชนิดหนึ่ง ขนาดนกเอี้ยง สีคล้ำ หากินกลางคืน ) มีผิวชุ่มดั่งน้ำค้างจับอยู่นั้น ชื่อวิฑูรย์เทศไข่ฟ้า ควรค่านับมิได้
        13. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำค้างอยู่ปลายยอดหญ้า และใบไม้ ชื่อวิฑูรย์น้ำค้าง ควรค่าแสนทองคำ
        14. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำไหลอยู่ในแก้วนั้น และมี ลักขณะคล้ายเหนี่ยงงำรัง (แมลงปีกแข็งสีดำ) ชื่อวิฑูรย์เทศฟองสมุทร ควรค่าหนึ่งพันทองคำ

        15. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง มีไหมแสดแดง แสดเหลืองผ่านกลางคล้าย น้ำไหล ชื่อมธุปทัมก่าน ควรค่าแสนคำแล

แก้วโป่งข่ามชนิดต่าง


ความเชื่อเรื่องอัญมณีเครื่องประดับของล้านนา

แก้ว หรือมณี เป็นสิ่งมีค่าและเครื่องประดับที่สำคัญ โดยถือว่าเป็นสมบัติอย่างหนึ่งของจักรพรรดิราช ที่ประกอบด้วยแก้ว 7 ดวงคือ กงจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณีโชติ นางแก้ว เศรษฐีแก้ว และเสนาแก้ว สำหรับแก้วมณีโชติ หรือมณีรัตน์นั้นมีคุณ วิเศษและพลานุภาพในการขจัดความมืด สามารถส่องแสงสว่างได้ในที่มีฝุ่นธุลีไกล 1 โยชน์ รวมทั้งสามารถส่องประกายลงไปในน้ำ หรือที่มีโคลนตมได้

สำหรับอัญมณีของล้านนานั้น แยกย่อยออกเป็น 24 ดวง หากผู้ใดนำมาเป็นเครื่องประดับ ทำแหวน หรือเก็บไว้ในถุงใส่เงินทอง จะทำให้เกิดความสุขเจริญมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติข้าวของประกอบไปด้วยโชคลาภ


แก้ววิเศษ 24 ชนิด เรียงตามลำดับ ดังนี้
          1. แก้วมหานิลไชยโชค
          2. แก้ววิฑูรย์ (ไพฑูรย์)
          3. แก้วนิลผักตบ
          4. วิฑูรย์ฝนเสน่หา
          5. บัวระกต (มรกต)
          6. สุริยประภา
          7. แก้วประภาชมชื่น
          8. วชิระเป๊กพรหมสามหน้า (เพชร)
          9. วิฑูรย์ขันธะ
         10. แก้วปทัมราค (ปัทมราค , ปัทมราช)
         11. จันทะแพงค่าหมื่น
         12. แก้วสุริยะ
         13. มหานิลทรายคำ
         14. แก้วพระญาอินสวร (แก้วพระอิศวร)
         15. วิฑูรย์ขนบ้งเทศไหมสน
         16. ก๊อแดงผจญปราบแพ้ศัตรู (ทับทิม)
         17. แก้วสีปะสีใสสะอาด
         18. ปทัมก่าน
         19. วิฑูรย์เทศ
         20. วิฑูรย์ผิวเผือก
         21. แก้วหมอกมุงเมือง
         22. เนระกันตี (มรกต)
         23. มธุกันตี (มรกต)
         24. อินทนิลแก้วเผือก

       แก้วมหานิล


นิล แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ มหานิล กับนิลน้อย เป็นแก้วสีดำมีหลายชนิด เช่น ดำเหมือนไข่กา ดำเหมือนสีดอกลำโพง และสีเหมือนดอกผักตบ เป็นต้น ซึ่งตามตำรากล่าวไว้ 12 อย่าง ดังนี้
           1. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายลูกหมากซัก คือลูกประคำดีควาย มีค่าได้หนึ่งพัน ทองคำ
           2. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายประกายทรายอยู่ในแก้วชื่อมหานิลทรายคำ
           3. มหานิลลูกใดมีลักษณะแดงพันเกี่ยวเกี้ยวขึ้นชื่อโปก๋า
           4. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายกับกากงา และเหมือนไข่กา ชื่อมหานิลไข่กา ควรค่าได้แสนทองคำ
           5. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายไข่ด้าน มีรัศมีเหลืองส่องเข้าไปในแก้วนั้น ชื่อมหานิลเผือก ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
           6. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะอย่างปีกกาลาบ มีรัศมีส่องเข้าไปในแก้ว ชื่อมหานิลนกกาลาบ คือนกพิราบที่มีลำตัวสีเทาปนฟ้า ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
           7. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแก่นพริกสุกและเลือดไก่ ชื่อมหานิลเลือดไก่ ควรค่าได้สี่พันเงิน
           8. มหานิลลูกใดมีสีคล้ายลูกหมากซัก คือประคำดีควาย ชื่อมหานิลน้ำตั๊บ ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
           9. มหานิลลูกใดมีลักษณะเขียวดั่งดอกอัญชัน ควรค่าหนึ่งพันทองคำ
         10. มหานิลลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกผักตบ ควรค่าหนึ่งพันเงิน
         11. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดั่งแววคอนกยูง ชื่ออินทนิล ควรค่าหนึ่งแสนทองคำ

         12. แก้วมหานิลลูกใดมีลักษณะดำภายใน คล้ายปทัมราค คือปัทมราคเข้าผสมเหมือนดอกไม้เพลิงและผางประทีป ชื่อมหานิลปทัมราคหาค่ามิได้ ถ้ามีไว้ยังบ้านเรือนของผู้ใด หรือทำเป็นแหวนจะเป็นเศรษฐีมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง ช้าง ม้า วัว ควาย ข้าคนมากนักแล


แก้ววิฑูรย์ แก้ววิตูล (ไพฑูรย์)
แก้ววิฑูรย์  แก้ววิตูลหรือไพฑูรย์ เป็นรัตนชาติสีเขียว หรือเหลืองแกมเขียว และสีน้ำตาลเทา มีสังวาลตรงกลาง คือน้ำเป็นสายรุ้งกลอก ไปมา เรียกว่าเพชรตาแมว หรือแก้วสีไม้ไผ่ ตามตำรากล่าวไว้ 15 อย่าง ดังนี้
          1. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายหยดน้ำ ชื่อวิฑูรย์น้ำหาย ควรค่าได้หนึ่งพันเงิน
          2. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายหยดน้ำฝนย้อยชายคา ชื่อวิฑูรย์น้ำค้าง ควรค่าหนึ่งพันเงิน
          3. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำเผิ้ง (น้ำผึ้ง) ชื่อวิฑูรย์น้ำเผิ้ง ควรค่าแสนทองคำ
          4. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะใสยาวคล้ายดาวประกายพฤกษ์ ชื่อวิฑูรย์ประกาย ควรค่าแสนทองคำ
          5. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำตาล ชื่อวิฑูรย์น้ำตาล ค่าสี่พันทองคำ
          6. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกทาระบุด (ไม่ทราบความหมาย) ควรค่าหนึ่งพัน ทองคำ
          7. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายหมากเป้งป่า ควรค่าได้หนึ่งพันทองคำ
          8. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกพุทธวงษ์ ควรค่าได้ห้าพันเงิน
          9. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายดอกคำมีขนซอนขึ้น ชื่อวิฑูรย์ฝนแสนห่า ควรค่าสี่พันเงิน
        10. แก้ววิฑูรย์ขนทราย คือไพฑูรย์ที่มีสีคล้ายขนเนื้อทรายควรค่าห้าพันเงิน
        11. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะเขียวก็ดี เหลืองก็ดีขึ้นสนกันอยู่ภายในแก้ว ชื่อว่า วิฑูรย์ขน บ้ง (ขนบุ้ง)
        12. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะดั่งได้ปอกใน มีลักษณะคล้ายแก้วประภาชมชื่น มีเงาป้านกลางดั่งเมฆขึ้นในอากาศ มีลักษณะดั่งไข่นกจัน ( คือนกชนิดหนึ่ง ขนาดนกเอี้ยง สีคล้ำ หากินกลางคืน ) มีผิวชุ่มดั่งน้ำค้างจับอยู่นั้น ชื่อวิฑูรย์เทศไข่ฟ้า ควรค่านับมิได้
        13. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำค้างอยู่ปลายยอดหญ้า และใบไม้ ชื่อวิฑูรย์น้ำค้าง ควรค่าแสนทองคำ
        14. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำไหลอยู่ในแก้วนั้น และมี ลักขณะคล้ายเหนี่ยงงำรัง (แมลงปีกแข็งสีดำ) ชื่อวิฑูรย์เทศฟองสมุทร ควรค่าหนึ่งพันทองคำ

        15. แก้ววิฑูรย์ลูกใดมีลักษณะคล้ายน้ำผึ้ง มีไหมแสดแดง แสดเหลืองผ่านกลางคล้าย น้ำไหล ชื่อมธุปทัมก่าน ควรค่าแสนคำแล