แก้วโป่งข่าม
แก้วโป่งข่าม
ก็คือ หินควอทซ์ (Quartz)
หรือที่เรียกกันว่า
"หินเขี้ยวหนุมาน" ที่เรียกว่าหินเขี้ยวหนุมานนั้น
สืบเนื่องมาจากลักษณะการก่อกำเนิดภายใต้พื้นผิวดิน ซึ่งลงตัวกันอย่างเหมาะเจาะกับรูปลักษณ์และคุณสมบัติของตัวเอง
อันเปรียบได้กับเขี้ยวของ "หนุมาน" ที่ทรงอิทธิฤทธิ์
แก้วโป่งข่าม หรือหินควอทซ์นั้น เป็นผลึกของหินปูนที่มีแร่ซิลิกาปนอยู่จำนวนมาก
ซึ่งคุณสมบัติของแร่ซิลิกา คือความสามารถในการปะจุพลังงานไว้ในตัว
และคายพลังงานออกมารอบ ๆ ตัวเองได้
ความเป็นมาของ แก้วโป่งข่ามขุมแก้วแม่แก่ง
คัดเลือกบางตอนมาจาก คู่มือแก้วโป่งข่ามฉบับวชิรเป๊กสูตร อ.ศักดิ์ รัตชัย, 2514
คำว่า
แก้วโป่งข่าม หมายเอาหินแก้วจากบริเวณดอยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของดอยโป่งหลวงในเขตตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง
แหล่งกำเนิดคือบริเวณเทือกดอยขุนแม่อาบ และขุนแม่อวม ขุนดอยต่างๆ อันมีด้วยห้วยออกรู
ดอยแม่ผางวง ดอยห้วยมะบ้า ดอยห้วยตาด
ดอยโป่งหลวง ดอยห้วยกิ่วตู่ ดอยโป่งแพ่ง ดอยห้วยตาด และดอยผาแดง
ในเทือกดอยขุนแม่อาบได้ให้กำเนิดแต่ดอยห้วยออกรูของดอยขุนแม่อาบส่วนน้ำห้วยแม่เตินกำเนิดแต่ดอยผาแดงระหว่างดอยขุนแม่อวบ และดอยขุนแม่อาบติดต่อกัน เทือกเขาดังกล่าวคือ
เขตดอยพันวาที่กั้นแนวระหว่างเมืองเถิน
เมืองลี้เขตจังหวัดลำพูน
โดยที่อาณาเขตของบ่อแก้วโป่งข่ามที่เลื่องลือ
อยู่ในตอนลุ่มดอยขุนแม่อาบและจอมดอยผาแดงอันเป็นใหญ่ในจอมดอยทั้งปวงในละแวกนั้น กำเนิดเรื่องราวอันศักดิ์สิทธิ์ของแก้วโป่งข่าม อยู่ใศูนย์กลางพื้นที่ ซึ่งเรียกกันว่าดอยโป่งหลวง อันให้กำเนิดห้วยโป่งระหว่างช่องดอยโป่งหลวงและโป่งแพ่งติดต่อกัน ห้วยโป่งไหลรวมสมทบกับห้วยมะบ้า
และห้วยแม่ผางวงลาดลงสู่บริเวณบ้านนาบ้านไร่รวมกับห้วยบ่อช้างล้วง
น้ำห้วยแม่แก่ง
ลำน้ำห้วยแม่แก่งก็ไหลขนานกันคนละฟากดอย
ไปพบแม่น้ำวังที่บ้านสบเตินและบ้านสบแก่งของแม่น้ำวัง
ซึ่งแม่น้ำวังก็เป็นเส้นโลหิตใหญ่ของจังหวัดลำปางและอำเภอเถินนี้ด้วย
เฉพาะห้วยแม่แก่ง
ที่จริงก็เป็นเพียงลำห้วยเล็กๆที่แทบมองไม่เห็นน้ำเมื่อเข้าฤดูแล้ง
แต่ด้วยระบบชลประทานแบบเหมืองฝายของชาวบ้านน้ำแม่แก่งได้มีส่วนป้อนน้ำเลี้ยงพื้นนาเขตบ้านเวียง บ้านอุมลอง บ้านล้อมแรด บ้านท่านาง
และบ้านสบคือของตำบลล้อมแรด
อันเป็นตำบลในเขตตั้งที่ว่าการอำเภอเถิน
ทั้งหมดอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำวัง ตำบลแม่ถอด อยู่เหนือสุดของอำเภอเถิน
และตัวอำเภอเถิน ก็อยู่ใต้สุดของแผนที่จังหวัดลำปาง
คำว่า
โป่งข่าม
คำว่า
โป่ง ตามพจนานุกรมหลักภาษาไทยพายัพ
เรียบเรียงโดยพระธรรมราชานุวัตร ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ แปลคำว่าโป่งดิน คือดินโป่ง โป่งน้ำคือน้ำโป่ง
มิได้แปลคำว่าโป่งโดยเฉพาะส่วนพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ แปลคำว่า โป่งดิน คือดินที่มีเกลือโป่งน้ำคือช่องดินที่มีน้ำพุขึ้นมา
คำว่า ?โป่ง?
หมายถึง ของที่พองลม เรียกผีที่อยู่ตามดินโป่งว่า ผีโป่ง เรียก ป่าที่ดินโป่ง ว่า ป่าโป่ง
คำว่า
ข่าม หมายถึงการอยู่ยงคงกระพัน
แต่เมื่อคำว่า โป่งข่าม มารวมกันจะแปลอย่างไรจึงจะกะทัดรัดที่สุดเล่า
บริเวณป่าตามขุนดอยแม่แก่ง
มีดินโป่งอยู่หลายแห่งก่อนที่จะถึงบริเวณที่เรียกว่าโป่งหลวง
แหล่งกำเนิดชื่อโป่งข่ามมีโป่งแกอยู่ด้านซ้ายมือ โป่งแพ่ง โป่งแม่ล้อม
อยู่ถัดๆไปล้อมรอบบริเวณที่เรียกว่าโป่งหลวง พระฤๅษีที่อยู่ในป่ามักอาศัยถ้ำและอยู่ได้ด้วยการอาศัยเกลือจากดินโป่งด้วย ที่เขตน้ำแม่แก่งของตำบลแม่ถอดนี้
มีถ้ำอยู่ถ้ำหนึ่งอาจจะเคยเป็นที่อยู่ของพระฤๅษีในสมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นวัดขึ้นแล้วชื่อ วัดสุขเกษม
ยังมีตำบลที่อยู่ติดกับตำบลแม่ถอดชื่อตำบลนาโป่ง แต่โดยบริเวณโป่งหลวงอันเป็นที่มีสัตว์ลงกินดินโป่งมากเป็นพิเศษ
และ
มีกิติศัพท์ในเรื่องราวความข่ามคงต่างๆ อาจจะหมายถึง
บริเวณโป่งดินที่เคยข่าม ก็ได้
ทั้งนี้ก็เพราะคำว่าโป่งนี้ หมายถึงสิ่งที่ผุดขึ้นมาได้ด้วย เช่นโป่งน้ำพุร้อน ที่จังหวัดเชียงราย
ไส้เทียนที่ลงยันตคาถาเรียกว่าโป่งเทียนดินที่เป็นพิษต่อการเจริญเติบโตของพืช
เช่นบริเวณสถานที่เรียกว่าโป่งแห้งในเขตตำบลบ้านเป้า อำเภอเมืองลำปาง หมายถึงที่ผุดขึ้นมาของดินพิษ
หินที่มีเนื้ออ่อนทำหินลับมีดได้
เช่นหินในเขตอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เรียกว่าหินโป่ง
ซึ่งในตำบลแม่ถอดนี้ ยังคงใช้หินโป่งของอำเภอแจ้ห่มเจียระไนแก้วโป่งข่ามอยู่เสมอ
แหล่งแก้วตำบลแม่ถอดเป็นแก้วหินที่งอกอยู่ใต้ผิวดินในลักษณะสิ่งที่ผุดขึ้นมาโดยช่องร้าวของพิภพ เมื่อมีสิ่งมีค่าหาได้ยากผุดขึ้นมาได้เช่นนี้
และมีเรื่องราวของความข่ามคงเล่าสืบกันมาก็อาจจะตีความหมายด้วยวิธีแปลอย่างสละสลวยได้อีกว่าแหล่งที่ผุดขึ้นมาแห่งความข่ามคง
ในสภาพสถานที่นั้นเป็นโป่งแก้วอันล้ำค่าอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น